วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สมเด็จพระสังฆราชฯ สิ้นพระชนม์ เมื่อเวลา 19.30 น. พระชันษา 100 ปี








พระประวัติสมเด็จพระสังฆราช
พระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สุวัฑฒนมหาเถระ) มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร ทรงมีพระชาติภูมิ ณ จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2456 ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ 14๑๔ พรรษา ณ วัดเทวสังฆาราม กาญจนบุรี แล้วเข้ามาอยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนพระชนมายุครบอุปสมบท และทรงอุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2476 โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง  วชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ประทับอยู่ศึกษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตลอดมาจนกระทั่งสอบได้เป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค เมื่อ พุทธศักราช 2484 เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงดำรงสมณศักดิ์มาโดยลำดับดังนี้ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ พระราชาคณะชั้นราช และพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระโศภณคณาภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร และทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช ในราชทินนามที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2532 นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ทรงมีพระอัธยาศัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนมาตั้งแต่ทรงเป็นพระเปรียญ โดยเฉพาะในด้านภาษา ทรงศึกษาภาษาต่าง ๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และ สันสกฤต จนสามารถใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี กระทั่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระอุปัชฌาย์ของพระองค์ทรงเห็นว่า จะเพลินในการศึกษามากไป วันหนึ่งทรงเตือนว่า ควรทำกรรมฐานเสียบ้าง เป็นเหตุให้พระองค์ทรงเริ่มทำกรรมฐานมาแต่บัดนั้น และทำตลอดมาอย่างต่อเนื่อง จึงทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงภูมิธรรมทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติ 
เนื่องจากทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี จึงทรงศึกษาหาความรู้สมัยใหม่ด้วยการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นเหตุให้ทรงมีทัศนะกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ทรงนิพนธ์หนังสือทางพระพุทธศาสนาได้อย่างสมสมัย เหมาะแก่บุคคลและสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน และทรงสั่งสอนพระพุทธศาสนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ
ใน ด้านการศึกษา ได้ทรงมีพระดำริทางการศึกษาที่กว้างไกล ทรงมีส่วนร่วมในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทย คือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยมาแต่ต้น ทรงริเริ่มให้มีสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อฝึกอบรมพระธรรมทูตไทยที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ
ทรงเป็นพระมหาเถระไทยรูปแรกที่ได้ดำเนินงานพระธรรมทูตในต่างประเทศอย่าง เป็นรูปธรรม โดยเริ่มจากทรงเป็นประธานกรรมการอำนวยการสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่าง ประเทศเป็นรูปแรก เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ในพิธีเปิดวัดไทยแห่งแรกในทวีปยุโรป คือวัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ทรงนำพระพุทธศาสนาเถรวาทไปสู่ทวีปออสเตรเลียเป็นครั้งแรก โดยการสร้างวัดพุทธรังษีขึ้น ณ นครซิดนีย์ ทรงให้กำเนิดคณะสงฆ์เถรวาทขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย ทรงช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศเนปาล โดยเสด็จไปให้การบรรพชาแก่ศากยะกุลบุตรในประเทศเนปาลเป็นครั้งแรก ทำให้ประเพณีการบวชฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเนปาลยุคปัจจุบัน ทรงเจริญศาสนไมตรีกับองค์ทะไล ลามะ กระทั่งเป็นที่ทรงคุ้นเคยและได้วิสาสะกันหลายครั้ง และทรงเป็นพระประมุขแห่งศาสนจักรพระองค์แรกที่ได้รับทูลเชิญให้เสด็จเยือน สาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการในประวัติศาสตร์จีน

เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเป็นเอนกประการ ทรงเป็นนักวิชาการและนักวิเคราะห์ธรรมตามหลักการของพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า ธัมมวิจยะ หรือธัมมวิจัย เพื่อแสดงให้เห็นว่า พุทธธรรมนั้นสามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของชีวิตได้ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับสูงสุด ทรงมีผลงานด้านพระนิพนธ์ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษจำนวนกว่า 100 เรื่อง ประกอบด้วยพระนิพนธ์แสดงคำสอนทางพระพุทธศาสนาทั้งระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง รวมถึงความเรียงเชิงศาสนคดีอีกจำนวนมาก ซึ่งล้วนมีคุณค่าควรแก่การศึกษา สถาบันการศึกษาของชาติหลายแห่งตระหนักถึงพระปรีชาสามารถและคุณค่าแห่งงานพระ นิพนธ์ ตลอดถึงพระกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติ จึงได้ทูลถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์เป็นการเทิดพระเกียรติหลายสาขา
นอกจากพระกรณียกิจตามหน้าที่ตำแหน่งแล้ว เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ยังได้ทรงปฏิบัติหน้าที่พิเศษ อันมีความสำคัญยิ่งอีกหลายวาระ กล่าวคือ ทรงเป็นพระอภิบาลในพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช เมื่อพุทธศักราช 2499 พร้อมทั้งทรงถวายความรู้ในพระธรรมวินัยตลอดระยะเวลาแห่งการทรงพระผนวช ทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อครั้งเสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อพุทธศักราช  2521
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร ทรงดำรงตำแหน่งหน้าที่สำคัญทางการคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ มาเป็นลำดับ เป็นเหตุให้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา ประเทศชาติ และประชาชน เป็นเอนกประการ นับได้ว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงเพียบพร้อมด้วยอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ และทรงเป็นครุฐานียบุคคลของชาติ ทั้งในด้านพุทธจักรและอาณาจักร  


วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กำหนดการ ยกฉัตรเจดีย์พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุงวัดสันปูเลย ตำบลบ้านด้าย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

กำหนดการ
ยกฉัตรเจดีย์พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง
วันอังคาร ที่ ๑๙ พฤศจิกายน  ๒๕๕๖ เวลา   ๑๗.๑๙  น.
ณ วัดสันปูเลย  ตำบลบ้านด้าย  อำเภอแม่สาย  จังหวัดเชียงราย
๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑
วันพุธ ที่ ๑๗  กรกฎาคม ๒๕๕๖
เวลา ๑๓.๑๕   น.   สมเด็จพระวันรัต เดินทางโดยเครื่องบินออกจากสนามบินดอนเมือง
เวลา ๑๔.๓๕  น.   ถึงสนามบินเชียงราย เดินทางโดยรถยนต์ไปวัดสันปูเลย ระยะทาง ๕๕
                              กิโลเมตรถึงวัดสันปูเลย
-                   พระสงฆ์  สามเณร ทายก ทายิกา  ข้าราชการ ประชาชน ถวายการต้อนรับ
-                   เจ้าประคุณสมเด็จฯสักการะหลวงพ่อขาวปากแดง
-                   เจ้าประคุณสมเด็จฯ เข้าสู่อาคารรับรอง พักอิริยาบถ
เวลา ๑๖.๓๐ น. -   เจ้าประคุณสมเด็จ  ไปยังมณฑลพิธี
-                   จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
-                   นั่ง ณ อาสนะ (เก้าอี้)
-     เจ้าหน้าที่ อาราธนาศีล   ประธานสงฆ์ให้ศีล
-                   ดร.กิตติ ตีรเศรษฐ  ประธานกรรมการอุปถัมภ์วัดสันปูเลย  กล่าวรายงาน
๑๗.๑๙ น.        -     เจ้าประคุณสมเด็จ ฯไปยังมณฑลพิธีเททอง
                        -     พระครูปราโมชสิทธานุยุต ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสันปูเลย ถวาย
       แผ่นทอง
                        -     เจ้าประคุณสมเด็จฯ หย่อนแผ่นทองลงในช้อนเททองและบิดด้ามช้อนเท
      ทองลงในเบ้าหลอมทอง
                        -     เจ้าหน้าที่เททอง
-                   พระสงฆ์สมณศักดิ์ เจริญชัยมงคลคาถา 
-                   เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้อง  ๙  ครั้ง
-                   เจ้าหน้าที่เททองเสร็จแล้ว
-                   เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปยังหุ่นที่เททอง ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
และโปรยข้าวตอกกดอกไม้ เสร็จแล้วไปยังสถานที่ปลูกต้นไม้ ปลูกต้นมเหสักข์-สักสยามมินทร์ เสร็จแล้วกลับไปยังมณฑลพิธี
-                   นางกรกนก เทพพิทักษ์  ประเคนไทยธรรมเจ้าประคุณสมเด็จฯ
-                   ผู้มีเกียรติประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์
-                   พระสงฆ์  อนุโมทนา กรวดน้ำ รับพร
เวลา ๑๘.๓ ๐น.    เจ้าประคุณสมเด็จฯ เดินทางไปยังสนามบินเชียงราย
เวลา ๒๐.๐๐น.    เจ้าประคุณสมเด็จฯเดินทางกลับกลับกรุงเทพฯ โดยเครื่องบิน






หมายเหตุ กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม







โครงการพัฒนาวัดสันปูเลย



โครงการพัฒนาวัดสันปูเลย

หลักการและเหตุผล
          วัดสันปูเลย  ปัจจุบันมี เจ้าอาวาส โดยการแต่งตั้ง และมีเกียรติสูงในระดับตำบลบ้านด้าย คือ มี นายสัมฤทธิ์ จันทาพูน อดีตผู้ใหญ่บ้านสันปูเลย ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เป็นกำนันตำบลบ้านด้าย ซึ่งเกียรติประวัตินี้ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งความเจริญ ความสมานสามัคคีที่มีวัด เจ้าอาวาสวัดสันปูเลย เป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรม ร่วมกันระหว่าง บ้าน วัด ชุมชน
                วัดสันปูเลย เป็นศูนย์รวมในการพัฒนาจิตใจของชาวบ้านสันปูเลย มาเป็นเวลานาน การพัฒนาวัดจึงไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าอาวาส กำนัน หรือใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น เป็นความร่วมสมานสามัคคีของคนทั้งหมู่บ้าน การพัฒนาวัดสันปูเลยที่จะมีต่อไปในอนาคตจะเปิดโอกาสให้ประชาชน พุทธศาสนิกชนทั่วไป มิใช่แค่คนสันปูเลย วัดต้องเป็นของทุกคน เป็นสถานที่ท่องเที่ยว  สร้างสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ การที่จะดำเนินการให้เป็นได้เช่นนั้น พลังของชุมชนต้องเข็มแข็ง เริ่มแต่การพร้อมใจกันประชุมระดมความคิดเห็นที่เหมือน แตกต่าง  สำรวจจุดเด่น จุดด้อยในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ด้วยวิธีการใด จึงเป็นหน้าที่ของชุมชน
                อาตมภาพ พระปลัดวิมล สิทฺธินนฺโท  หวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวคิดในการพัฒนาที่เสนอไปจะเป็นประโยชน์ ต่อคนในชุมชนบ้านสันปูเลย ยึดหลักการ คือ อนุรักษ์ของเก่า สร้างสิ่งใหม่ เอาใจใส่ชุมชน  และขอหวังไว้ในใจว่าแนวคิดในการพัฒนานี้จะทำให้เกิดพลังสามัคคีร่วมกัน ระหว่าง บ้าน วัด ชุมชน ยินดีที่จะได้รับทั้งข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ แนวคิดที่แตกต่าง เพื่อวัดสันปูเลย บ้านสันปูเลย ของเราต่อไป
สิ่งที่ต้องพัฒนาวัดให้มีในอนาคต
          ดำเนินการขอใบรับรองสภาพวัด    เจ้าอาวาสเตรียมเอกสาร เป็นผู้ยื่นคำขอ ผ่านตำบล อำเภอ จังหวัด  สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย  ตามลำดับ
๑.การก่อสร้างสิ่งใหม่
                ๑.สร้างวิหารหลังใหม่                       ๒.สร้างเรือนรองอาคันตุกะ        ๓.ซุ้มประตูโขง
๒.การปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างเก่า
             
๑.ศาลาการเปรียญ                                ๒.กำแพง  และอื่นๆ                         
๓.ปรับภูมิทัศน์ภายในวัด จัดทำแผนผังเพื่อการพัฒนา จัดโซนนิ่งเสนาสนะ
                ๑.ถมดินภายในวัด                              ๒.ปูตัวหนอน หรือเทพื้นคอนกรีต





การก่อสร้างสิ่งใหม่ จะดำเนินการสร้างวิหาร  วิธีดำเนินการดังนี้
๑.ประชุมคณะกรรมการประชาคมหมู่บ้าน ประกอบด้วย เจ้าอาวาสวัดสันปูเลย 
กำนัน  สารวัตรกำนัน สมาชิก อบต. ประชาชนชาวบ้านสันปูเลย หมู่ ๕
(ประชุมรอบแรก เมื่อคืนวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓) และประชุมทำความเข้าใจจนได้ข้อยุติในครั้งต่อไป
กรณีย้ายทั้งหลัง  มีขั้นตอนมีดังนี้
๑.ช่างผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ประเมินราคาและจะเป็นผู้ดำเนินการชี้แจงต่อชาวบ้านถึงขั้นตอนการย้าย ค่าใช้จ่าย  ย้ายไปตั้งตรงไหน
กรณีย้ายไม่ได้ มีขั้นตอนมีดังนี้
๑.ช่างผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ดำเนินการชี้แจงต่อชาวบ้านว่าทำไมถึงย้ายไม่ได้
กรณีทุบทิ้ง
๑.ชาวบ้านดำเนินการช่วยกันในการรื้อถอนหรือว่าจ้าง
การระดมทุนเพื่อการพัฒนาวัด
          ระหว่างที่ประชุมประชาคมเพื่อหาข้อยุติ และจนกว่าจะตกลงใจร่วมกัน การระดมทุนเรื่องสำคัญ อาตมภาพตั้งใจว่าจะกำหนดปฏิทิน เพื่อหาเงินมาระดมทุนดังนี้
                ๑.ทอดกฐินเริ่มดำเนินการ ปี ๒๕๕๓
๒.ทอดผ้าป่า ๓ เดือน     ครั้ง  เริ่มดำเนินการ ปี ๒๕๕๔ 
๓.แหล่งทรัพยากรจากพุทธศาสนิกชน คหบดี   ข้าราชการ เอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
๔.จัดกิจกรรมเพื่อระดมทุน เช่น  พุทธาภิเษก  บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน อุปสมบทหมู่ และอื่น ๆ เป็นต้น


------------------------------------------------------------------------------------------------
พระปลัดวิมล  สิทฺธินนฺโท
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหนองโว้ง พระอารามหลวง
สำนักงาน โทร. ๐๕๕-๖๘๗๒๔๔
มือถือ ๐๘๖-๕๙๒๘๓๗๙,๐๘๔-๗๐๗๐๔๑๐